ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นการนำเอาวิธีการทางภูมิคุ้มกันมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency diseases) โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ (infectious diseases) โรคภูมิต้านทานตนเอง (autoimmune diseases) และโรคมะเร็ง (cancer) โดยการนำสารต่างๆ มากระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
วิธีภูมิคุ้มกันบำบัด อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ nonspecific immunotherapy และ
antigen-specific immunotherapy

Nonspecific immunotherapy
เป็นภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อหวังผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั่วไปของผู้ป่วย โดยการให้สารต่างๆ
ได้แก่

1. Bacillus Calmette-Guerin (BCG)
       BCG เป็น live attenuated strain ของเชื้อ Mycobacterium bovis การให้ BCG มีผลกระตุ้นเซลล์ macropahges ให้หลั่ง interleukin 1 (IL-1) ซึ่งสาร IL-1 นี้สามารถกระตุ้นการทำงานของ T lymphocytes ได้
     จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าBCGสามารถใช้รักษามะเร็งที่มีสาเหตุจากสารเคมีและเชื้อไวรัสบางชนิดได้ BCG สามารถกระตุ้น natural killer cell (NK cells) ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ BCGใช้ได้ผลดีมากในการรักษาโรคมะเร็ง melanoma และbladder cancer อย่างไรก็ตามการฉีด BCG
มักทำ ให้เกิดแผลและอาจเกิด hypersensitivityreaction ในบางคน

 

BCG

Bacillus Calmette-Guerin (BCG) vaccine

2. Muramyl dipeptide (MDP)
       การใช้ BCG ในภูมิคุ้มกันบำบัด บางครั้งทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง
จึงมีความพยายามแยกส่วนของ BCG แล้วนำมาใช้ในงานภูมิคุ้มกันบำบัดแทนการใช้ BCG เพื่อลดอาการข้างเคียง
       Muramyl dipeptide (MDP) เป็น substituted monosaccharide (N-acetyl-muramyl-
L-alanyl-D-isoglutamine) ที่สกัดจาก cell wall ของ mycobacterium และนำมาใช้แทน BCG       

        MDP นี้มีคุณสมบัติเป็น immunoadjuvant ที่แรงมาก และมีผลกระตุ้นการทำงานของ macrophages และantigen presenting cells

 

MDP

โครงสร้างของ muramyl dipeptide

3. Corynebacterium parvum
                C. parvum เป็นแบคทีเรียชนิดกรัมลบ
ใช้รักษาโรคโดยให้กินหรือฉีดในหรือรอบๆ ก้อน
มะเร็งC. parvum สามารถยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็ง
และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
พบว่า C. parvum ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้น macrophages
            มีการทดลองใช้ C. parvum รักษาโรคมะเร็งในคนหลายชนิด
เช่น malignant melanoma, lung cancer และ breast cancer
โดยใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยารักษามะเร็งอื่น

 

C.pavum

Corynebacterium parvum

4. Levamisole
        ยาตัวนี้เป็นอนุพันธ์ของ tetramisole ใช้เป็นยารักษาพยาธิในสัตว์ พบว่า levamisole
ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง ส่วนในคนพบว่ายาตัวนี้ช่วยแก้ไขและเพิ่ม delayed skin
hypersensitivity ต่อแอนติเจนชนิดต่างๆ
         ในผู้ที่มีการตอบสนองตํ่าหรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง levamisoleยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อต่างๆ เช่น herpes labialis, herpes genitalis, หูด และ chronic staphylococcal infection และผู้ป่วย gastric cancer ระยะที่ III มีอาการดีขึ้น
         แต่ levamisole มักทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น เกิดคลื่นไส้ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีผื่น
และทำให้เม็ดเลือดขาวลดตํ่า (granulocytopenia) อาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อหยุดยา

Levamisole

ปฏิกิริยาของ Levamisole ต่อ HUVECs' mophology

5. Cytokine therapy
     มีการนำสาร cytokines หลายชนิดมาใช้ในงานภูมิคุ้มกันบำบัด เช่น interferon, tumor
necrosis factor (TNF), IL-2 หรือ IL-4
     โดยอาศัยหลักการว่าสารcytokinesเหล่านี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ Cytokine therapy มีหลายชนิด เช่น การให้ interferon เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัส และรักษาโรคมะเร็งอีกหลายชนิด เช่น osteosarcoma,Hodgkin’s disease, multiple myeloma, cervical cancer, basal cell caracinoma, breast cancer non-Hodgkin’s disease และ neuroblastoma และพบว่าการรักษามะเร็งจะให้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อให้ interferon ร่วมกับ TNF การให้ interleukin 2
      ในผู้ป่วยมะเร็งเชื่อว่า IL-2 จะกระตุ้น specifictumor-reactive T cells ได้ โดยพบว่า IL-2 สามารถรักษาผู้ป่วย melanoma ได้ผลประมาณ 25-40%

 

Cytokine tp

 

6. LAK therapy
      NK cells และ T lymphocytes บางชนิด เมื่อกระตุ้นด้วย IL-2 เป็นเวลา 4 วัน จะกลายเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งได้สูงมากเรียกว่า lymphokine-activated killer cells หรือ LAK cells
     ดังนั้นจึงมีการนำ LAK cells มาใช้ในการรักษามะเร็งบางชนิด โดยนำเซลล์ของผู้ป่วยเองมากระตุ้นด้วย IL-2 นอกร่างกาย จากนั้นนำเซลล์ที่ถูกกระตุ้นให้เป็น LAK cells แล้วนี้ฉีดกลับเข้าไปในร่างกายอีกครั้ง
เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วยเอง

 

LAK

 

Antigen-specific immunotherapy
เป็นวิธีภูมิคุ้มกันบำบัดที่จำเพาะต่อแอนติเจนที่สนใจ มีหลายวิธี ได้แก่
1. Specific active immunotherapy 
เป็นวิธีการแยกแอนติเจนจากเซลล์มะเร็ง แล้วนำมาใช้เป็นวัคซีนเพื่อฉีดให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อกระตุ้นให้เกิด humoral immune response และ cell-mediated immune response ต่อเซลล์มะเร็ง แอนติเจนที่ใช้นี้อาจได้มาจากการนำเอาเซลล์มะเร็งมาแตก แล้วเอาไปฉีด (lysed wholetumor cells) หรือแยกเอาเฉพาะแอนติเจนจำเพาะจากเซลล์มะเร็ง เช่นการแยกเอา gangliosides จาก melanomas หรือ mucins จาก carcinomas เป็นต้น หรือนำเซลล์มะเร็งมาย่อยด้วยเอนไซม์ neuraminidase เพื่อหวังผลในการเพิ่ม immunogenicity ของเซลล์มะเร็ง แล้วให้กลับเข้าในผู้ป่วย
2. Magic bullet therapy
เป็นวิธีที่นำยารักษามะเร็ง หรือสารพิษ หรือสารกัมมันตรังสีมาติดฉลากเข้ากับแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งแล้วให้แก่ผู้ป่วย แอนติบอดีนี้จะไปจับกับเซลล์มะเร็งทำให้สารพิษ หรือยาหรือสารรังสี ไปมีผลกับเซลล์มะเร็งโดยตรง

 

magic bullet

รูปแสดงการใช้แอนติบอดีร่วมในการรักษามะเร็งแบบ magic bullet therapy

‹‹previous    TOP   next››


credit : ศ.ดร.วัชร กสิณฤกษ์