ระบบภูมิคุ้มกันและการตอบสนองต่อเชื้อโรค
แต่ละคนมีวิธีการป้องกันที่ธรรมชาติให้มานั้นใกล้เคียงกันแต่ความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ระบบที่ใช้เพื่อทำหน้าที่ป้องกันโรคของ
ร่างกายนี้เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune system) ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจงที่มีโดยธรรมชาติ (native immunity หรือ natural resistance) เป็นภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด กลไกการป้องกันแบ่งออกเป็น
1.1 ลักษณะป้องกันทางกายวิภาค (anatomical barrier) เช่น ผิวหนัง และเยื่อบุผิว
1.2 สารเคมีในร่างกาย (chemical factor) เช่น น้ำตา น้ำลาย สารคัดหลั่งจากเซลล์เยื่อบุจมูก น้ำย่อย
1.3 การสะกดกลืนกิน (phagocytosis) เซลล์ที่ทำหน้าที่ ได้แก่ neutrophil, monocyte, macrophage เป็นต้น
1.4 ระบบคอมพลีเมนต์ (complement system) คือกลุ่มของโปรตีนในซีรั่มมากกว่า 20 ชนิด ที่ในภาวะปกติจะอยู่ในรูป inactive form แต่เมื่อถูกกระตุ้นจาก antigen-antibody complex หรือ immune complexจะทำให้เกิดการกระตุ้นเชื่อมโยงต่อๆ ไป และ products ที่เกิดขึ้นจับเป็นคอมเพล็กซ์ที่เมมเบรนและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กลับคืนไม่ได้ของเมมเบรนทั้งหน้าที่และรูปร่าง ทำให้เซลล์เกิดการแตกสลาย นอกจากนั้น biological products ที่เกิดขึ้นจะมีผลให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น inflammation, anaphylaxis
2. ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง (specific acquired immunity) จะแบ่งวิธีการ
ตอบสนองออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ
- humoral immune response (HIR) คือกระแสเลือดและกระแสน้ำทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสร้าง antibody (Ab) จาก B-lymphocyte ซึ่งมีกำเนิดจากไขกระดูก ในตอนแรกจะอยู่ในรูป pre-B-cell จากนั้นย้ายไปที่ lymphoid tissue เพื่อพัฒนาเป็น B-lymphocyte ที่เจริญเต็มที่จึงถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดและไปตาม lymphoid tissue ต่างๆ เข้าสู่กระแสน้ำเหลืองทั่วร่างกายเพื่อทำหน้าที่ เมื่อมี immunogenเข้ามาและทำการตอบสนองก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น blast cell และ plasma cell ตามลำดับเพื่อทำหน้าที่สร้าง antibody ที่จำเพาะต่อ immunogen แต่ละชนิด
- cell-mediated immune response (CMIR) คือด้านพึ่งเซลล์ เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการตอบสนองนี้คือ T lymphocyte ซึ่งต้นกำเนิดก็มาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับ B lymphocyte โดยในตอนแรกจะเป็น pre-T-cell จากนั้นจึงพัฒนาผ่านทาง thymus gland มาเป็น T-cell ที่สมบูรณ์ นอกจากนี้การตอบสนองอาจเกิดจากปฏิกิริยาของ mediators ที่ปล่อยออกมา (lymphokines) หรือร่วมกับเซลล์อื่นๆ เช่น killer cell (K cell), natural killer cell (NK cell), macrophage
เม็ดเลือดขาว (leucocyte) แบ่งเป็น
1. polymorphonuclear granular leucocyte (PMN) เช่น neutrophil, eosinophil, basophil
Neutrophil -electron micrograph. Note the two nuclear lobes and the azurophilic granule
2. non-granular leucocyte เช่น lymphocyte, monocyte โดย lymphocyte จะเจริญต่อไปเป็น
2.1 T lymphocyte มีหน้าที่คือ
- ทำลายเซลล์เป้าหมาย เช่น เซลล์เนื้องอก เซลล์มะเร็ง เป็นต้น
- มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ผลิต lymphokines ชนิดต่างๆ เพื่อช่วย B lymphocyteสร้าง antibody และช่วย T lymphocyte ชนิดอื่น, NK cell, phagocyteในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ให้มากเกินไป โดยการหลั่ง suppressor factor
Human T-lymphocyte Attacking Fibroblast Tumor / Cancer Cells (SEM x4,000)
2.2 B lymphocyte เป็นต้นกำเนิดของ plasma cell ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในการผลิต antibody
1. NK cell (Natural Killer Cell) เป็น large granular lymphocyte ที่ต่างจาก T, B lymphocyte คือสามารถเข้าทำลายเซลล์แปลกปลอมได้โดยไม่ต้องอาศัย antibody คือไม่ต้องมีความจำเพาะระหว่างมันและเซลล์แปลกปลอม การทำงานที่แตกต่างกันนี้จึงถูกเรียกว่า non specific cell-mediated cytotoxicity
2. K cell (Killer Cell) การทำงานต่างจาก NK cell คือ จะทำลายเซลล์แปลกปลอมด้วยวิธี ADCC (Antibody dependent cell-mediated cytotoxicity)
3. Phargocyte ได้แก่ neutrophil, eosinophil, monocyte และ macrophage ทำให้เกิดกระบวนการ phagocytosis คือ กินและทำลายสิ่งแปลกปลอม เมื่อเซลล์เหล่านี้มาถึงจะเคลื่อนตัวไปหาสิ่งแปลกปลอมนั้น (chemotaxis) แล้วประกบติด (attachment) ต่อมาจะกลืน (ingestion) แล้วจึงมีการย่อย (intracellular digestion) ด้วยกลไกหลายอย่างในเซลล์ แล้วจึงปล่อยสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำลายแล้วออกไปจากเซลล์
4. Mediator cell ได้แก่ mast cell, basophil ใน granule มีสารหลายอย่างที่สำคัญคือ histamine และ SRS-A (Slow Reactive Substance of Anaphylaxis) ทำให้มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาการแพ้ต่างๆ
credit : http://pathmicro.med.sc.edu/bowers/immune%20cells.htm
http://www.sanidadanimal.info/cursos/inmun/septimo3.htm