Monoclonal Antibodies

Mono

การรักษาด้วยสารชีวภาพวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง เรียกว่า การรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody therapy) ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้รักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด โดยเป็นแอนติบอดีที่สังเคราะห์ได้จากห้องปฏิบัติการจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง
         แอนติบอดีชนิดโมโนโคลน มีความสามารถพิเศษในการจับกับเซลล์มะเร็ง หรือจับกับโปรตีนบางชนิดที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทำให้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ช่วยหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอยู่ในรูปแบบยาหยดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดอาจใช้โดยลำพัง หรือนำมาผสมกับสารอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์ ได้แก่ ยาบางชนิด สารพิษบางชนิด รวมทั้งสารกัมมันตรังสี และแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนที่นำมารวมกับสารกัมมันตรังสี เรียกว่า แอนติบอดีชนิดโมโนโคลนปิดฉลากสารเรืองแสง
          ปัจจุบันได้รับการนำสารชีวภาพ(monoclonal antibodies ติดสลากสารเภสัชรังสี)มาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น Rituximab (Rituxan), Rituximab (Mabthera), Ibritumomab (Zevalin), Tositumomab (Bexxar), Epratuzumab (Lymphocide), Alemtuzumab (MabCampath)

 


                               รูปแสดงการออกฤทธิ์ของ monoclonal antibodies ต่อ เซลล์มะเร็ง

 

ตารางแสดง : ยาในกลุ่ม Monoclonal antibodies ที่รับรองโดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US Federal drug administration) ให้ใช้ในการรักษามะเร็งในปัจจุบัน

ยา โรคที่รักษา
Rituximab มะเร็งต่อมน้ำเหลือง non-hodkin lymphoma
Trastuzumab มะเร็งเต้านมทั้งระยะแพร่กระจาย และระยะเริ่มต้น
Alemtuzumab มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดบีเซลล์ลิมโฟไซต์ (B-cell-CLL)/มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด low grade NHL
Cetuximab มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพ่รกระจาย/มะเร็งศีรษะและคอชนิด squamous cell ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด
Bevacizumab มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพ่รกระจาย (ให้ร่วมกับ 5-FU)
Panitumumab มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพ่รกระจายที่ overexpressed EGFR ที่ใช้ยา fluoropyrimidine, irinotecan และ oxaliplatin ไม่ได้ผล

 

 

รูปยา

รูปแสดงตัวอย่างยา Rituxan

 

 

  Producing Monoclonal Antibodies

producing ratวิธีการผลิต Monoclonal antibody ที่สำคัญในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
1. วิธี somatic hybridization เป็นการเชื่อมต่อเซลล์ 2 เซลล์ ซึ่งกำลังอยู่ในระยะที่กำลังจะแบ่งตัวโดยใช้สาร polyethylene glycol (PEG) ทำให้ผิวนอกของเซลล์ทั้ง 2 เซลล์เชื่อมรวมเป็นเซลล์เดียวกัน โดยเซลล์หนึ่งคือ B lymphocyte หรือเซลล์พลาสมาจากม้ามของหนูที่ถูกกระตุ้นไว้แล้วด้วย antigen ซึ่งสามารถสร้าง monoclonal antibody ที่มีความจำเพาะต่อเซลล์ที่ต้องการได้ ส่วนอีกเซลล์คือเซลล์มะเร็งที่กำเนิดจากเซลล์พลาสมา (myeloma cell) สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ไม่หยุดยั้ง โดย myeloma cell ที่นิยมใช้กันเป็นเซลล์ที่ไม่สร้าง immunoglobulin ของตนเอง
วิธีการนี้ทำให้ได้กลุ่มเซลล์ลูกผสมที่เรียกว่า hybridoma ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่สามารถสร้าง antibody และมีชีวิตยืนยาวและเพิ่มจำนวน antibody ได้โดยไม่มีสิ้นสุด
อย่างไรก็ตามเนื่องจาก monoclonal antibody ที่ผลิตได้จากหนูมีข้อเสียบางประการทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงและก่อให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันไวเกินได้ จึงมีการพยายามผลิต monoclonal antibody จากคนโดยใช้ B lymphocyte ซึ่งส่วนใหญ่ได้จาก lymphocyte ในกระแสเลือด หรืออาจใช้เซลล์จากต่อมน้ำเหลืองหรือม้าม แต่ monoclonal antibody จากคนก็ยังมีข้อจำกัดบางประการทำให้การใช้ยังไม่แพร่หลายนัก
2. วิธีทางพันธุวิศวกรรม ทำโดยแยกเอา immunoglobulin gene ออกมา นำไปใส่ในพาหะซึ่งมักเป็น pladmid ทำการดัดแปลงโดยการสับเปลี่ยนหรือเติมส่วน constant domain ที่ต้องการ แล้วนำกลับเข้าไปใส่ในเซลล์อื่นเพื่อผลิตโปรตีนต่อไป วิธีนี้สามารถดัดแปลงในระดับยีนทำให้โมเลกุล antibody มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปตามที่ต้องการได้

 

สรุปการใช้ monoclonal antibodies เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง
         ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งที่เป้าหมายโดยใช้ monoclonal antibody มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยังมียาใหม่จำนวนมากที่อยู่ในระยะการศึกษาทางคลินิก ทั้งนี้เนื่องจากยากลุ่มนี้มีความจำเพาะต่อโมเลกุลเป้าหมายของเซลล์มะเร็ง เช่น HER2, CD20, VEGF และ EGFR เป็นต้น และเทคโนโลยีในการผลิตโดยใช้วิธีการ hybridoma ในปัจจุบันที่ทำให้ได้ monoclonal antibody ที่มีปริมาณและคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ (cytotoxicity) น้อยกว่าการให้เคมีบำบัด แต่อย่างไรก็ตาม monoclonal antibody เป็นโปรตีนขนาดใหญ่จึงต้องให้ด้วยการหยดเข้าหลอดเลือดดำ ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยได้แก่ infusion toxicity อาการที่ไม่รุนแรงได้แก่ ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ผื่นขึ้น ส่วนอาการรุนแรง ได้แก่ anaphylactic shock และ cardiopulmonary collapse เป็น ต้น การให้ยาครั้งแรกจึงต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดขณะให้ยาโดยให้ยาช้าๆใน ครั้งแรก และปรับลดอัตราการให้ยาตามอาการแพ้ของผู้ป่วย ควรให้ยา antihistamine หรือ corticosteroids เพื่อป้องกันการแพ้ ในรายที่มีอาการแพ้ที่รุนแรงมากต้องหยุดการให้ยาทันที แม้ว่า monoclonal antibody มี ความจำเพาะต่อแอนติเจนบนเซลล์มะเร็งเป้าหมายแต่แอนติเจนนั้นก็อาจพบบนเซลล์ ปกติด้วย ดังนั้นความปลอดภัยในการใช้ยาก็ยังคงต้องติดตามต่อไปและยังจัดเป็นยาราคาแพง มากที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงปัญหาการดื้อยาเหล่านี้ที่อาจเกิดจาก mutation ของมะเร็งที่แตกต่างกัน การศึกษา gene ที่เกี่ยวข้องจะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

‹‹previous     TOP     next››



credit : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
                         ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ