ยายับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Anti-angiogenesis therapy)
หมายถึงการให้ยาเพื่อยับยั้งขบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ เป็นยารักษามะเร็ง
โดยให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด โดยอาศัยหลักการของการสร้างเส้นเลือดในก้อนมะเร็ง
เพื่อเป็นการตัดตอนการนำส่งออกซิเจนและสารอาหารมาเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
ส่งผลให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตและลุกลามต่อไปได้
อีกทั้งยังมีผลต่อการช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด
ประวัติ
ในระยะเวลาที่ผ่านมามากกว่า 50 ปี ทิศทางการวิจัยและพัฒนารักษามะเร็ง มุ่งเน้นไปที่การค้นหาสารมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง ที่เรียกว่า cytotoxic agents แม้ว่า ยาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีสามารถลดอัตราการเสียชีวิตหรือทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนนานขึ้นแต่เนื่องจากยาจะทำลายเซลล์ปกติของร่างกายด้วย จึงก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่าง ๆ ๆมากมาย ซึ่งบางครั้งเป็นอุปสรรคในการรักษา นอกจากนี้เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง (genetic instability) ดังนั้นเมื่อใช้ยาไปสักระยะหนึ่งก็มักจะเกิดปัญหาการดื้อยาตามมาแนวคิดใหม่ในการวิจัยและพัฒนายารักษามะเร็ง มีรากฐานมากจากสมมติฐานของ Judah Folkman ที่ว่า เมื่อมะเร็งแบ่งตัวเจริญเติบโตจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1-2 มิลลิเมตร การแพร่กระจายของสารอาหารและออกซิเจนจากหลอดเลือดเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องมีการเหนี่ยวนำให้สร้างหลอดเลือดใหม่ (tumor angiogenesis) เพื่อไปเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้น ดังนั้นถ้ายับยั้งมิให้มีการสร้างหลอดเลือดก็จะทำให้มะเร็งหยุดเจริญเติบโตและแจตายไปในที่สุด อย่างไรก็ดีแนวความคิดนี้ไมได้รับความสนใจเท่าที่ควรจนถึงปี ค.ศ. 1990 จึงเกิดกระแสความสนใจอย่างกว้างขวางในการศึกษากลไกและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิด angiogenesis และนำไปสู่การค้นพบยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ (antiangiogenic agents) มากมายหลายกลุ่ม ในปัจจุบันมียาไม่น้อยกว่า 24 ชนิด ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยทางคลินิก
การทดลองยา thalidamole เพื่อยับยั้งการสร้างหลอดเลือดฝอยในเซลล์ตัวอ่อนของไก่(ซ้ายก่อนให้ยา/ขวา หลังให้ยา)
credit : http://medicineworld.org/
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_preview=T&art_id=294